ทำไมกลั้นหายใจแล้วเซลล์เม็ดเลือดแดงถึงเพิ่มขึ้น

การกลั้นหายใจช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดงในระบบหมุนเวียนโลหิตโดยธรรมชาติ

Breath holding leads to increase of red blood cells due to Hypoxia!! Can this be the way to treat anemia?

(English version with references below)

การกลั้นหายใจในหมู่นักฟรีไดฟ์มีผลทำให้เม็ดเลือดแดงมีปริมาณมากขึ้นเนื่องมาจากสภาวะอ๊อกซิเจนต่ำ (Hypoxia) หรือว่านี่จะเป็นหนทางของการรักษาคนที่มีสภาวะโลหิตจางได้

จากงานวิจัยในต่างประเทศประกอบกับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ปี 2019 (https://www.bbc.com/thai/international-49962979) เป็นที่มาของการยืนยันว่า เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะอ๊อกซิเจนต่ำ (Hypoxia) ร่างกายเราจะมีกลไกช่วยให้มีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากขึ้น เพื่อรับมือกับสภาวะอ๊อกซิเจนต่ำ ตัวอย่างเช่นนักปีนเขาที่ขึ้นไปที่สูงจะเริ่มมีสภาวะขาดออกซิเจน แต่ในไม่ช้าร่างกายก็ปรับตัว สร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น เพื่อมาชดเชยกับภาวะกับออกซิเจนต่ำ

 

ข้อมูลจากรางวัลโนเบล (https://www.nobelprize.org/prizes/medicine/2019/press-release/) กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสารประกอบโปรตีนชนิดหนึ่งชื่อ Hypoxia Inducible Factor (HIF) ที่เป็นตัวควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (erythropoietin – EPO) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง (erythrocyte) ในไขกระดูก เพื่อให้มีฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) มากขึ้น

ฮีโมโกลบินเป็นโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบหลักในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ในร่างกาย ดังนั้นถ้าร่างกายเรามีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากขึ้น ก็จะมีความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายรอดจากสภาวะขาดออกซิเจนได้ ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในปฏิกิริยาแมมมาเลี่ยนไดฟ์วิ่งรีเฟล็กซ์ (Mammalian Diving Reflex – MDR) ที่อยู่ในบทเรียนทฤษฎีของฟรีไดฟ์นั่นเอง

จากการพูดคุยกับครูสอนฟรีไดฟ์สองคนที่เคยมีสภาวะเม็ดเลือดแดงต่ำมาตลอดตั้งแต่เด็ก  พบว่าหลังจากที่เริ่มดำฟรีไดฟ์ทั้งสองคนมีปริมาณเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ได้ทำการตรวจเช็คปริมาณเม็ดเลือดแดงตามที่แพทย์นัด ซึ่งจะบ่อยกว่าคนปกติ ปริมาณเม็ดเลือดแดงปกติในวัยผู้ใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 14-18 gm/dL (ชาย) และ 12-16 gm/dL (หญิง)

เมื่อนำข้อมูลทุกอย่างมารวมเข้าด้วยกัน ทำให้เราคิดว่าหากเปิดคอร์สกลั้นหายใจสำหรับคนทั่วไปที่สนใจในสุขภาพและต้องการเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดแดงแบบธรรมชาติ โดยที่ไม่ได้ต้องการลงน้ำ ก็น่าจะสามารถทำให้คนมีสุขภาพของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ดีขึ้นได้ หากได้รับการฝึกฝนการกลั้นหายใจที่ถูกวิธีอย่างต่อเนื่อง

 

 

สำหรับผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง หรือผู้ที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียสามารถนำผลเลือดมาแสดงให้เราเห็นเพื่อเรียนฟรี แต่ต้องให้ทางเราเก็บข้อมูลเป็นกรณีศึกษา เพื่อนำเสนอต่อบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป (ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะโลหิตจางดูได้ที่ bit.ly/โลหิตจาง)

คอร์สกลั้นหายใจนี้จะเน้นให้ผู้เรียนสามารถกลั้นหายใจได้อย่างถูกวิธี ตารางการฝึกกลั้นหายใจที่ทำตามได้เองที่บ้าน และข้อจำกัดในการฝึก ผู้เรียนจะได้เรียนกับครูทางออนไลน์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง รายได้ส่วนหนึ่งจากการสอนจะนำไปบริจาคให้กับโรงพยาบาลในสภาวะที่ต้องต่อสู้กับโรคโควิด19 สำหรับผู้สนใจสามารถอินบ๊อกหรือโทรมาสอบถามตารางเรียนและจองคอร์สเรียนออนไลน์ได้นะคะ

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

สุดคะนึง หทัยหิมากุล หรือครูนุ๊ก เป็นเจ้าของโรงเรียนสอนดำน้ำสนุกไดฟ์ เป็นครูสอนดำน้ำลึกระดับ PADI IDC Staff Instructor และ SSI Dive Control Specialist Instructor และสอนฟรีไดฟ์ SSI Pool Freediving Instructor. เนื่องจากครูชอบที่จะลงสู่ความลึกด้วยอุปกรณ์สกูบ้ามากกว่าการฟรีไดฟ์ ครูจึงพุ่งเป้าหมายในการออกกำลังกายแบบฟรีไดฟ์ไปที่ การเพิ่มสถิติในการกลั้นหายใจ และระยะทางในการว่ายในสระแบบไม่มีฟิน ครูนุ๊กจบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศกรรมเคมี จากม.เกษตรศาสตร์ และปริญญาโทสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์จาก FH-Aachen ประเทศเยอรมนี

สืบเนื่องมาจากการที่ครูได้พูดคุยกับครูสอนฟรีไดฟ์อีกสองคนที่เคยมีสภาวะเม็ดเลือดแดงต่ำมาตลอด แต่หลังจากที่ได้ฝึกฝนฟรีไดฟ์เป็นประจำตลอดเวลามากกว่า 1 ปี ครูทั้งสองคนมีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ครูนุ๊กศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม และได้เรียบเรียงเป็นบทความนี้ขึ้นมา นอกจากนี้ครูยังต้องการทำการศึกษาต่อในเคสของผู้ที่มีภาวะโลหิตจางและเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย โดยจะเปิดสอนคอร์สกลั้นหายใจให้ฟรี เพื่อนำข้อมูลไปประกอบเอกสารยื่นเสนอให้กับบุกคลากรทางการแพทย์ต่อไป

 

According the international research papers and Nobel Prize in Medicine, it confirmed that when human body is in hypoxia stage, there are mechanisms to increase production of red blood cells (RBC) in order to sustain low oxygen level. Examples in the case of people climbing up to the high mountain, they seem to face hypoxia, but soon RBC increases to cope up low oxygen level.

Nobel Prize said that scientists have discovered protein complex, later named Hypoxia Inducible Factor (HIF) which control the production of hormone erythropoietin (EPO) which has main function in erythrocyte (RBC) formation in bone marrow, resulting in higher hemoglobin. Hemoglobin is a protein inside red blood cell which help transferring oxygen to our whole body system. Therefore, increase in RBC is also increasing oxygen level in our body, surviving from hypoxia.

In freediving theory, a similar mechanism to increase RBC in blood flow is so called Spleen contraction which is a part of Mammalian Diving Reflex (MDR). Spleen is a reservoir for thick blood which is rich in RBC. Research paper shows that spleen volume decreased in consecutive apnea series A1-A5 (repeated maximal apnea time) with 2 minutes interposed between successive attempts. A rapid decrease in spleen size was found throughout the first apnea. However, after breath hold test, the spleen recovered its volume back to 92-95% over 60 minutes in trained apnea divers and untrained persons, respectively.

Reference: Spleen volume and blood flow response to repeated breath-hold apneas https://journals.physiology.org/doi/full/10.1152/japplphysiol.00221.2003

 

Another experiment was performed with 3 apnea divers, face submersing in water for 150 seconds. Result shows that spleen started to contract immediately after breath holding and its volume become smallest at 150th seconds, aligned with lowest oxygen saturation level and heart rate.

Reference: Spleen volume and blood flow response to repeated breath-hold apneas https://journals.physiology.org/doi/full/10.1152/japplphysiol.00221.2003

In accordance with conversations with 2 freediving instructors who had low RBC since their childhood, we found that after they have been practicing apnea over a year, their RBC have been increasing in every blood tests, which are required by medical doctor more often than normal people. Normal range of RBC lay in between 14-18 gm/dL and 12-16 gm/dL for male and female, respectively.

When we combine all the information together, we believe that if we teach people who don’t like to dive into water, but are interested in increasing red blood cells, we might be able to meet their need. If they practice proper breath holding technique and follow training table, their red blood cells might increase.

 

Especially for the people who have anemia or thalassemia minor, they can show their medical results of low RBC in order to get a free breath-hold course under the condition that we can use their information for our reference to propose to healthcare professionals.

The breath-hold course will focus on how you can hold your breath with a right method and how to practice at your own place and which condition you have to follow. The course takes 2 hours.  Some profits from this course will be donated to the hospital, supporting them in fighting against COVID-19. If you are interested, please send us a message for more detail and schedule an online course worldwide.

References:

About author:

Sudkanung Hataihimakul is a founder of Zanook Dive. She is a Thai scuba diving instructor (PADI IDC staff Instructor and SSI Dive Control Specialist Instructor) and a SSI pool freediving instructor. Hence, she prefers to go deep with scuba gear, her targets in freediving are improvement in static apnea and dynamic no fin. Sudkanung has a background in Chemical engineering and Biomedical engineering. After a conversation with other 2 freediving instructors with thalassemia minor, she believes that with hypoxia condition and spleen contraction in breath-hold practice might be able to help increasing red blood cells for people who have anemia and thalassemia minor. Therefore, she started to read more papers and created this article and a free breath-hold course for those people in order to gather information to propose to healthcare professionals.

Freediving course คอร์สเรียนฟรีไดฟ์ https://www.zanookdive.com/course/freediver/

Tel. +66 922419266

Email: zanookdive@gmail.com

#ฟรีไดฟ์ #เรียนฟรีไดฟ์ #ฟรีไดฟ์วิ่ง #ฟรีไดฟ์กรุงเทพฯ #กลั้นหายใจ #apnea #holdyourbreath #freedive #freediving #freediver #freedivebangkok #ดำน้ำ #เรียนดำน้ำ #เรียนถ่ายภาพใต้น้ำ #เรียนครบจบที่เดียว #ssifreediving #basicfreediver #zanookdive #zanookfreedive #ดำน้ำแสมสาร